วันอังคารที่ 20 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555
วันพุธที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2555
บทความเรื่อง....แม่
แม่...เป็นผู้หญิงคนแรกที่ผมรักและเคารพ แม่คอยใส่ใจ คอยดูแลผมมาตลอดอายุ 15 ปี
แม่ผมรักผมมากเป็นห่วงผมมาก ทุกๆครั้งที่กลับบ้านแม่ก็จะถามผมว่า"กินข้าวรึยังลูก" "วันนี้เป็นยังไงบ้าง" ผมรักแม่ครับ ผมสัญญาว่าจะัตั้งใจเรียนให้มากและมากที่สุด
เรียนให้จบมีงานดีๆทำแล้วจะกลับมาดูแลแม่ :)
บทความวันแม่
ความเป็นมา
งานวันแม่จัดขึ้นครั้งแรกเมื่อวันที่ 10 มีนาคม พ.ศ. 2486 ณ.สวนอัมพร โดยกระทรวงสาธารณสุข แต่ช่วงนั้นเกิดสงครามโลกครั้งที่ 2 งานวันแม่ในปีต่อมาจึงต้องงดไป เมื่อวิกฤติสงครามสงบลง หลายหน่วยงานได้พยายามให้มีวันแม่ขึ้นมาอีก แต่ก็ไม่ประสบผลสำเร็จเท่าที่ควร และมีการเปลี่ยนกำหนดวันแม่ไปหลายครั้ง ต่อมาวันแม่ที่รัฐบาลรับรอง คือวันที่ 15 เมษายน โดยเริ่มจัดตั้งแต่ปี พ.ศ. 2493 แต่ก็ต้องหยุดลงอีกในหลายปีต่อมา เนื่องจากกระทรวงวัฒนธรรมถูกยุบไป ส่งผลให้สภาวัฒนธรรมแห่งชาติ ซึ่งรับหน้าที่จัดงานวันแม่ขาดผู้สนับสนุน ต่อมาสมาคมครูคาทอลิกแห่งประเทศไทย ได้จัดงานวันแม่ขึ้นอีกครั้ง ในวันที่ 4 ตุลาคม พ.ศ. 2515
แต่จัดได้เพียงปีเดียวเท่านั้น จนกระทั่งในปี พ.ศ. 2519 คณะกรรมการอำนวยการสภาสังคมสงเคราะห์แห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ จึงได้กำหนดวันแม่ขึ้นใหม่ให้เป็นวันที่แน่นอน โดยถือเอาวันเสด็จพระราชสมภพของสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ วันที่ 12 สิงหาคมเป็นวันแม่แห่งชาติ และกำหนดให้ดอกไม้สัญลักษณ์ของวันแม่ คือ ดอกมะลิ
ดอกมะลิ สัญลักษณ์ของวันแม่
นับตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ทรงเป็นสมเด็จพระบรมราชินีนาถในรัชกาลที่ 9 พระนามเดิม หม่อมราชวงศ์สิริกิติ์ กิติยากร เป็นพระธิดาองค์ใหญ่ของหม่อมเจ้านักขัตรมงคล (ภายหลังได้รับพระกรุณาโปรดเกล้าฯ สถาปนาขึ้นเป็น พลเอกพระวรวงศ์เธอ กรมหมื่นจันทบุรีสุรนาถ)กับ หม่อมหลวงบัว กิติยากร เสด็จพระราชสมภพเมื่อวันศุกร์ที่ 12 สิงหาคม พ.ศ. 2475 ณ บ้านของพลเอกเจ้าพระยาวงศานุประพัทธ์ (ม.ร.ว.สท้าน สนิทวงศ์) และท้าววนิดาพิจาริณี บิดาและมารดาของหม่อมหลวงบัว กิติยากร ตั้งอยู่ที่ 1808 ถนนพระรามที่ 6 อำเภอปทุมวัน จ.พระนคร ได้รับพระราชทานนามจากพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวว่า "สิริกิติ์" มีความหมายว่า "ผู้เป็นศรีแห่งกิติยากร"
ตราประจำพระองค์
สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ทรงมีพระภาดา (พี่ชาย) 2 องค์ และและพระขนิษฐภคินี (น้องสาว) 1 องค์ ดังนี้ หม่อมราชวงศ์กัลยาณกิติ์ กิติยากร (ชาตะ พ.ศ. 2472) หม่อมราชวงศ์อดุลกิติ์ กิติยากร (ชาตะ พ.ศ. 2473) และ หม่อมราชวงศ์หญิง บุษบา กิติยากร (ชาตะ พ.ศ. 2477)
ในระหว่างยังทรงพระเยาว์ สถานการณ์บ้านเมืองไม่สู้สงบนัก เนื่องจากเพิ่งพ้นจากช่วงของการเปลี่ยนแปลงการปกครอง 24 มิถุนายน พ.ศ. 2475 ไม่นาน หม่อมเจ้านักขัตรมงคลต้องทรงออกจากราชการ รัฐบาลแต่งตั้งให้ไปรับตำแหน่งเลขานุการเอกประจำสถานทูตสยาม ณ กรุงวอชิงตัน ดี.ซี. ส่วนหม่อมหลวงบัวซึ่งมีครรภ์แก่ ได้เดินทางไปสมทบหลังจากให้กำเนิดหม่อมราชวงศ์สิริกิติ์แล้ว โดยมอบหม่อมราชวงศ์สิริกิติ์ให้อยู่ในความดูแลของบิดาและมารดาของหม่อมหลวงบัว ดังนั้นจึงต้องอยู่ไกลจากบิดามารดาตั้งแต่อายุน้อย บางคราวต้องเดินทางไปต่างจังหวัด เช่น พ.ศ. 2476 หม่อมเจ้าอัปสรสมาน กิติยากร พระมารดาของหม่อมเจ้านักขัตรมงคล ได้ทรงรับนัดดาตามเสด็จพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ไปอยู่ที่จังหวัดสงขลา ปลายปี พ.ศ. 2477 หม่อมเจ้านักขัตรมงคลทรงลาออกจากราชการแล้วกลับมาประเทศไทย จึงทำให้หม่อมราชวงศ์สิริกิติ์ซึ่งขณะนั้นอายุได้ 2 ปี 6 เดือน ได้กลับมาอยู่รวมพร้อมหน้ากันทั้งครอบครัว ณ ตำหนักบริเวณถนนกรุงเกษม ปากคลองผดุงกรุงเกษม ริมแม่น้ำเจ้าพระยา
การศึกษา
พ.ศ. 2479 เมื่อหม่อมราชวงศ์หญิงสิริกิติ์มีอายุได้ 4 ขวบ ก็ได้เข้ารับการศึกษาครั้งแรกในชั้นอนุบาลที่โรงเรียนราชินี ทว่าในขณะนั้น แม้เหตุการณ์ด้านการเมืองภายในประเทศไทยจะสงบลง แต่สถานการณ์ระหว่างประเทศก็ไม่สงบ กล่าวคือ สงครามมหาเอเชียบูรพาเริ่มแผ่ขยายมาถึงประเทศไทย กรุงเทพมหานครถูกโจมตีทางอากาศหลายครั้งจนการคมนาคมไม่สะดวก พระบิดาจึงให้หม่อมราชวงศ์สิริกิติ์ย้ายไปเรียนที่โรงเรียนเซนต์ฟรังซีสซาเวียร์คอนแวนต์ เพราะอยู่ใกล้วังพระบิดา ได้เรียนที่นั่นตั้งแต่ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 จนจบชั้นมัธยมศึกษา หม่อมราชวงศ์หญิงสิริกิติ์ได้เรียนเปียโน ซึ่งเรียนได้ดีและเร็วเป็นพิเศษ นอกจากนี้ยังได้ศึกษาภาษาอังกฤษและภาษาฝรั่งเศสด้วย
พ.ศ. 2489 ครั้นเมื่อสงครามโลกครั้งที่สองสงบลง หม่อมเจ้านักขัตรมงคลต้องเสด็จไปดำรงตำแหน่งรัฐทูตวิสามัญและอัครราชทูตผู้มีอำนาจเต็มประจำสำนักเซนต์เจมส์ ประเทศอังกฤษ ทั้งนี้โดยได้ทรงพาครอบครัวทั้งหมดไปอยู่ด้วย ในเวลานั้นหม่อมราชวงศ์หญิงสิริกิติ์ มีอายุได้ 13 ปีเศษ และเรียนจบชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 แล้ว
ขณะที่อยู่ในประเทศอังกฤษ หม่อมราชวงศ์หญิงสิริกิติ์ได้ศึกษาต่อทั้งวิชาภาษาอังกฤษและฝรั่งเศส และวิชาเปียโนกับครูพิเศษ หลังจากนั้นไม่นาน พระบิดาย้ายไปเดนมาร์กและฝรั่งเศส ตามลำดับ ขณะที่หม่อมราชวงศ์สิริกิติ์ก็ยังคงเรียนเปียโน และตั้งใจจะศึกษาต่อในวิทยาลัยการดนตรีที่มีชื่อเสียงของกรุงปารีส
ระหว่างที่อยู่ในประเทศฝรั่งเศส หม่อมราชวงศ์หญิงสิริกิติ์ได้มีโอกาสรับเสด็จพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ภูมิพลอดุลยเดช (ขณะนั้นทรงศึกษาต่อที่สวิตเซอร์แลนด์หลังจากเสด็จขึ้นครองราชย์) ซึ่งพระองค์เสด็จประพาสกรุงปารีส โดยทางรถยนต์จากสวิตเซอร์แลนด์ เพราะประสงค์จะเลือกซื้อรถยนต์พระที่นั่งแทนคันเดิม และยังได้รับชมการแสดงดนตรีของคณะที่มีชื่อเสียงด้วย ในระหว่างที่เสด็จพระราชดำเนินมายังกรุงปารีส ก็ได้ประทับที่สถานทูตไทยประจำประเทศฝรั่งเศสเช่นเดียวกันกับนักเรียนไทยคนอื่นในสมัยนั้น ทั้งนี้เนื่องจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ทรงโปรดการดนตรีเป็นพิเศษ ขณะที่หม่อมราชวงศ์หญิงสิริกิติ์ก็สนใจศิลปะเช่นกัน ทำให้เกิดความความสัมพันธ์ขึ้น
ทรงหมั้น
วันที่ 3 ตุลาคม พ.ศ. 2491 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ทรงประสบอุบัติเหตุทางรถยนต์ ณ ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ ทรงเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลแห่งหนึ่งโดยมีหม่อมหลวงบัวและหม่อมราชวงศ์หญิงสิริกิติ์ เข้าเฝ้าฯ เยี่ยมพระอาการเป็นประจำ และในช่วงระยะเวลาที่หม่อมราชวงศ์สิริกิติ์อยู่เฝ้าฯ ถวายพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวที่สวิตเซอร์แลนด์นั้น สมเด็จพระราชชนนีศรีสังวาลย์ (พระนามในเวลานั้น) ได้ทรงรับเป็นธุระจัดการให้หม่อมราชวงศ์สิริกิติ์เข้าศึกษาในโรงเรียน Pensionnat Riante Rive [ต้องการแหล่งอ้างอิง] ซึ่งเป็นโรงเรียนประจำแห่งหนึ่งของโลซาน ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ ครั้นเมื่อพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงหายจากอาการประชวรแล้ว ก็ได้ทรงหมั้นหม่อมราชวงศ์สิริกิติ์เป็นการภายในเมื่อวันที่ 19 กรกฎาคม พ.ศ. 2492
หลังจากทรงหมั้นแล้ว หม่อมราชวงศ์หญิงสิริกิติ์ยังคงศึกษาต่อ กระทั่ง พ.ศ. 2493 เมื่อพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จพระราชดำเนินนิวัตพระนครเพื่อร่วมพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล พระองค์ท่านโปรดฯ ให้หม่อมราชวงศ์หญิงสิริกิติ์ตามเสด็จพระราชดำเนินกลับมาด้วย
อภิเษกสมรส
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระบรมราชินีนาถทรงสายสะพายนพรัตน์ราชวราภรณ์เมื่อวันที่ 28 เมษายน พ.ศ. 2493 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวโปรดเกล้าฯ ให้จัดการพระราชพิธีราชาภิเษกสมรสขึ้น ณ วังสระปทุม และโปรดเกล้าฯ สถาปนาหม่อมราชวงศ์สิริกิติ์ขึ้นเป็น สมเด็จพระราชินีสิริกิติ์
หลังจากครองราชย์สมบัติอย่างกะทันหัน พระบาทสมเด็จพระหัวอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ได้โปรดเกล้าฯ ให้มีพระราชพิธีบรมราชาภิเษกขึ้นในวันที่ 5 พฤษภาคม 2493 และโปรดฯ ให้เฉลิมพระนามาภิไธย สมเด็จพระราชินีสิริกิติ์ เป็น สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินี หลังจากนั้นทั้งสองพระองค์ได้เสด็จฯ กลับไปยังสวิตเซอร์แลนด์เพื่อทรงรักษาพระองค์และทรงศึกษาต่อ แล้วเสด็จฯ กลับมาอีกครั้งในปี พ.ศ. 2495
พระราชโอรสธิดา
สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ทรงมีพระราชโอรส และพระราชธิดา 4 พระองค์ ดังนี้
1. สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าหญิงอุบลรัตนราชกัญญา สิริวัฒนาพรรณวดี ประสูติ ณ สถานพยาบาลมองซัวซี นครโลซาน ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ เมื่อวันที่ 5 เมษายน พ.ศ. 2494 ต่อมาได้ทรงลาออกจากฐานันดรศักดิ์ (ปัจจุบัน ทรงพระนามว่า ทูลกระหม่อมหญิงอุบลรัตน์ราชกัญญา สิริโสภาพรรณวดี) เพื่อสมรสกับนายปีเตอร์ เลด เจนเซ่น ชาวอเมริกัน ทรงมีพระโอรส 1 องค์ และพระธิดา 2 องค์
2. สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าวชิราลงกรณ บรมจักราดิศรสันตติวงศ์ เทเวศรธำรงสุรบริบาล อภิคุณูประการมหิตลาดุลเดชภูมิพลนเรศวรางกูร กิติสิริสมบูรณ์ สวางควัฒน์ บรมขัตติยราชกุมาร ประสูติ ณ พระที่นั่งอัมพรสถาน เมื่อวันที่ 28 กรกฎาคม 2495 ต่อมา ทรงได้รับการสถาปนา ขึ้นเป็น สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิราลงกรณ สยามมกุฏราชกุมาร เมื่อ พ.ศ. 2515
3. สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าสิรินธรเทพรัตนสุดา กิติวัฒนาดุลโสภาคย์ ประสูติ ณ พระที่นั่งอัมพรสถาน เมื่อวันที่ 2 เมษายน พ.ศ. 2498 ต่อมาทรงได้รับพระราชทานโปรดเกล้าฯ ให้เฉลิมพระอิสริยยศ เป็น สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา เจ้าฟ้ามหาจักรีสิรินธร รัฐสีมาคุณากรปิยชาติ สยามบรมราชกุมารี เมื่อ พ.ศ. 2520
4. สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี ประสูติ ณ พระที่นั่งอัมพรสถาน เมื่อวันที่ 4 กรกฏาคม พ.ศ. 2500 ทรงอภิเษกสมรสกับ เรืออากาศโท (ยศในขณะนั้น) วีระยุทธ ดิษยะศริน ทรงมีพระธิดา 2 พระองค์
ผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์
เมื่อ พ.ศ. 2499 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เสด็จฯ ออกผนวชเป็นเวลา 15 วัน ระหว่างวันที่ 22 ตุลาคม - 5 พฤศจิกายน และระหว่างที่ผนวช ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินี เป็นผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ ในภายหลังพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว จึงได้โปรดเกล้าฯ ให้เฉลิมพระนามาภิไธยเป็นสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ในวันเฉลิมพระชนมพรรษา 5 ธันวาคม ปีเดียวกัน
กิจกรรมต่าง ๆ ที่ควรปฏิบัติในวันแม่แห่งชาติ
ดอกมะลิ ดอกไม้สัญลักษณ์วันเเม่
1. ข้าราชการ พ่อค้า ประชาชน หน่วยงานภาครัฐและเอกชนทั่วประเทศ
2. ร่วมจุดเทียนชัยถวายพระพรแด่สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ
3. การประดับไฟเฉลิมพระเกียรติ และประดับธงชาติตามอาคารบ้านเรือน
4. จัดกิจกรรมต่าง ๆ เกี่ยวกับวันแม่ เช่น การจัดนิทรรศการ การแสดง การประกวดต่างๆ เพื่อรำลึกถึงพระคุณของแม่
5. การบำเพ็ญสาธารณประโยชน์ ทำบุญใส่บาตรอุทิศส่วนกุศล
6. นำพวงมาลัยดอกมะลิไปกราบขอพรจากแม่
วันพฤหัสบดีที่ 13 กันยายน พ.ศ. 2555
วันสำคัญทางพระพุทธศาสนา-วันมาฆบูชา
วันมาฆบูชา เดิมเรียกว่า วันมาฆปุณณมี หมายถึง วันที่พระจันทร์เพ็ญเต็มดวงในเดือนมาฆะ ส่วนมาฆบูชา หมายถึง การบูชาในวันเพ็ญเดือนมาฆะ คือ วันเพ็ญ ขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๓ ซึ่งวันมาฆบูชานี้ เราทราบกันว่า เป็นวันที่พระภิกษุ ๑๒๕๐ รูป มาประชุมกันโดยมิได้นัดหมาย และมีเหตุอัศจรรย์พร้อมกัน ๔ ประการ เรียกว่า จาตุรงคสันนิบาต การประชุมพร้อมกันด้วย องค์ ๔ และในวันนี้ พระพุทธเจ้าทรงกระทำวิสุทธิอุโบสถ ทรงแสดงโอวาทปาติโมกข์ ซึ่งเราถือกันว่า เป็นหัวใจของพระพุทธศาสนา
ความสำคัญ
วันมาฆบูชา ประกอบด้วยเหตุสำคัญ ๓ ประการ คือ
ความสำคัญ
วันมาฆบูชา ประกอบด้วยเหตุสำคัญ ๓ ประการ คือ
๑. เป็นวันที่พระสารีบุตร บรรลุอรหัตผล ที่ถ้ำสุกรขาตา หลังจากบวชได้ ๑๕ วัน
๒. เป็นวันประชุมสงฆ์ครั้งใหญ่ ถึง ๑,๒๕๐ รูป และพระพุทธเจ้าทรงแสดงโอวาทปาติโมกข์ ประกาศหลักการ วิธีการ อุดมการณ์ของพระพุทธศาสนา
๓. พระพุทธเจ้าทรงตั้งพระอัครสาวก คือพระสารีบุตร และพระโมคคัลลานะ
ส่วนใหญ่เราจะทราบกันแต่เพียงว่า เป็นวันจาตุรงคสันนิบาต พระสงฆ์มาประชุมกัน
๑,๒๕๐ รูป และพระพุทธเจ้า ทรงแสดงโอวาทปาติโมกข์ จึงควรทราบเพิ่มเติมดังนี้
พระ พุทธองค์ ทรงเสด็จลงจากภูเขาคิชฌกูฏ เพื่อไปยังพระวิหารเวฬุวัน หลังจากที่ทรงแสดงธรรมโปรด ทีฆนขปริพาชก แล้ว ซึ่งพระสารีบุตร ก็ได้บรรลุพระอรหันต์ ด้วยพระธรรมเทศนานั้นเช่นกัน พระพุทธองค์เสด็จมายัง พระวิหาร ทรงประชุมพระสาวก ซึ่งมีมหาสันนิบาตประกอบด้วยองค์ ๔ คือ
๑. วันนั้น เป็นวันอุโบสถ ขึ้น ๑๕ ค่ำ ประกอบด้วยมาฆนักษัตร (ดวงจันทร์เต็มดวงในเดือนมาฆะ)
๒.พระสงฆ์ ๑,๒๕๐ รูป มาประชุมกันตามธรรมดาของตน โดยมิได้ นัดหมาย
๓.พระสงฆ์เหล่านั้นล้วนเป็นพระอรหันต์ผู้ทรงอภิญญา ๖ ไม่มีแม้ สักรูปหนึ่งที่เป็นปุถุชน หรือพระโสดาบัน พระสกทาคามี พระอนาคามี และพระอรหันต์ผู้สุกขวิปัสสกะ
๔.พระสงฆ์เหล่านั้น เป็นเอหิภิกขุอุปสัมปทา คือพระพุทธเจ้า ทรง อุปสมบทให้ทั้งสิ้น
โอวาทปาฏิโมกข์ - โอสารณา
โอวาทปาติโมกข์
ความหมายของคำว่า ปาติโมกข์
๒. เป็นวันประชุมสงฆ์ครั้งใหญ่ ถึง ๑,๒๕๐ รูป และพระพุทธเจ้าทรงแสดงโอวาทปาติโมกข์ ประกาศหลักการ วิธีการ อุดมการณ์ของพระพุทธศาสนา
๓. พระพุทธเจ้าทรงตั้งพระอัครสาวก คือพระสารีบุตร และพระโมคคัลลานะ
ส่วนใหญ่เราจะทราบกันแต่เพียงว่า เป็นวันจาตุรงคสันนิบาต พระสงฆ์มาประชุมกัน
๑,๒๕๐ รูป และพระพุทธเจ้า ทรงแสดงโอวาทปาติโมกข์ จึงควรทราบเพิ่มเติมดังนี้
พระ พุทธองค์ ทรงเสด็จลงจากภูเขาคิชฌกูฏ เพื่อไปยังพระวิหารเวฬุวัน หลังจากที่ทรงแสดงธรรมโปรด ทีฆนขปริพาชก แล้ว ซึ่งพระสารีบุตร ก็ได้บรรลุพระอรหันต์ ด้วยพระธรรมเทศนานั้นเช่นกัน พระพุทธองค์เสด็จมายัง พระวิหาร ทรงประชุมพระสาวก ซึ่งมีมหาสันนิบาตประกอบด้วยองค์ ๔ คือ
๑. วันนั้น เป็นวันอุโบสถ ขึ้น ๑๕ ค่ำ ประกอบด้วยมาฆนักษัตร (ดวงจันทร์เต็มดวงในเดือนมาฆะ)
๒.พระสงฆ์ ๑,๒๕๐ รูป มาประชุมกันตามธรรมดาของตน โดยมิได้ นัดหมาย
๓.พระสงฆ์เหล่านั้นล้วนเป็นพระอรหันต์ผู้ทรงอภิญญา ๖ ไม่มีแม้ สักรูปหนึ่งที่เป็นปุถุชน หรือพระโสดาบัน พระสกทาคามี พระอนาคามี และพระอรหันต์ผู้สุกขวิปัสสกะ
๔.พระสงฆ์เหล่านั้น เป็นเอหิภิกขุอุปสัมปทา คือพระพุทธเจ้า ทรง อุปสมบทให้ทั้งสิ้น
โอวาทปาฏิโมกข์ - โอสารณา
โอวาทปาติโมกข์
ความหมายของคำว่า ปาติโมกข์
คำว่า ปาตี ได้แก่ การตกไป เช่น การตกไปในสังสารวัฏ การตกไปในกิเลส การตกไปในห้วงความทุกข์ และอบายทั้งหลาย ดังนั้น ปาตี จึงเป็นชื่อของปุถุชน ทั้งหลายผู้ตกไปในสังสารวัฏ กิเลส ความทุกข์ และอบายทั้งหลาย
คำว่า โมกฺข ได้แก่ การหลุดพ้น เครื่องหลุดพ้น ซึ่งหมายถึง นิพพาน
เพราะฉะนั้น คำว่า ปาติโมกข์ จึงแปลว่า ความหลุดพ้นจากกิเลส และความทุกข์ทั้งหลาย รวมความว่า โอวาทปาติโมกข์ จึงได้แก่ คำสอน เพื่อความหลุดพ้นจากกิเลสและความทุกข์
ประเภทของปาติโมกข์
ปาติโมกข์ แบ่งออกเป็น ๒ ประเภท คือ
๑. อาณาปาติโมกข์ คือ สิกขาบททั้งหลายที่ทรงบัญญัติ เพื่อเป็นขอบเขตแก่ภิกษุ และภิกษุณีทั้งหลาย หลักธรรมที่ว่า สำรวมในพระปาติโมกข์ หมายถึง
อาณาปาติโมกข์ นี้
๒. โอวาทปาติโมกข์ คือ โอวาททั้งหลายที่ทรงแสดงในวันเพ็ญเดือน ๓ มีโอวาทว่า สพฺพปาปสฺส อกรณํ เป็นต้น
ประเภทของปาติโมกข์
ปาติโมกข์ แบ่งออกเป็น ๒ ประเภท คือ
๑. อาณาปาติโมกข์ คือ สิกขาบททั้งหลายที่ทรงบัญญัติ เพื่อเป็นขอบเขตแก่ภิกษุ และภิกษุณีทั้งหลาย หลักธรรมที่ว่า สำรวมในพระปาติโมกข์ หมายถึง
อาณาปาติโมกข์ นี้
๒. โอวาทปาติโมกข์ คือ โอวาททั้งหลายที่ทรงแสดงในวันเพ็ญเดือน ๓ มีโอวาทว่า สพฺพปาปสฺส อกรณํ เป็นต้น
วันอาทิตย์ที่ 9 กันยายน พ.ศ. 2555
วันพฤหัสบดีที่ 30 สิงหาคม พ.ศ. 2555
วันพฤหัสบดีที่ 26 กรกฎาคม พ.ศ. 2555
กิจกรรมที่ 4
4.1
<html>
<head>
<script language="javascript">
<!--
var a;
a = prompt("กรุณากรอกชื่อ-สกุล");
alert("สวัสดี"+a);
</script>
</head>
</html>
4.2
<html>
<head>
<script language="javascript">
<!--
var a;
a = prompt("ความกว้าง");
var b;
b = prompt("ความยาว");
alert("พื้นที่สี่เหลี่ยม "+a*b);
</script>
</head>
</html>
เด็กชาย พงศ์ชนะ ขันธุปัทม์ ม.3/8 เลขที่ 21
<html>
<head>
<script language="javascript">
<!--
var a;
a = prompt("กรุณากรอกชื่อ-สกุล");
alert("สวัสดี"+a);
</script>
</head>
</html>
4.2
<html>
<head>
<script language="javascript">
<!--
var a;
a = prompt("ความกว้าง");
var b;
b = prompt("ความยาว");
alert("พื้นที่สี่เหลี่ยม "+a*b);
</script>
</head>
</html>
เด็กชาย พงศ์ชนะ ขันธุปัทม์ ม.3/8 เลขที่ 21
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)