Law of computer กฏหมายคอมพิวเตอร์


กฏหมายคอมพิวเตอร์

 
    กฏหมายคอมพิวเตอร์มีความสำคัญอย่างยิ่งสำหรับผู้ใช้คอมพิวเตอร์ ไม่ว่าจะเป็นทางด้านอาชีพหรือสมัครเล่นก็ต้องศึกษาเรื่องของกฏหมายไว้
    ปัจจุบันผู้ใช้งานคอมพิวเตอร์ควรที่จะต้องระมัดระวังการใช้งานคอมพิวเตอร์เป็นพิเศษ เนื่องจากบางครั้ง(หรือหลายครั้ง) คุณอาจจะเผลอกระทำความผิดกฎหมายว่าด้วยคอมพิวเตอร์ทั้งด้วยความตั้งใจและไม่ตั้งใจ วันนี้ผมเลยอยากจะนำเอาร่างพระราชบัญญัติคอมพิวเตอร์

ความรู้เกี่ยวกับกฏหมายคอมพิวเตอร์


มาตรา 1 พ.ร.บ.นี้ เรียกว่า พ.ร.บ.ว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2550 มาตรา 2 ให้มีผลบังคับเมื่อพ้นกำหนด 30 วัน นับตั้งแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป และมาตรา 3 ใน พ.ร.บ. ฉบับนี้ ระบบคอมพิวเตอร์หมายความว่า อุปกรณ์ หรือ ชุดอุปกรณ์ของคอมพิวเตอร์ที่เชื่อมการทำงานเข้าด้วยกัน โดยได้มีการกำหนดคำสั่ง ชุดคำสั่ง หรือ สิ่งอื่นใด และแนวทางปฏิบัติงานให้อุกรณ์ หรือ ชุดอุปกรณ์ ทำหน้าที่ประมวลผลข้อมูลโดยอัตโนมัติ

“ข้อมูลคอมพิวเตอร์” หมายความว่า ข้อมูล ข้อความ คำสั่ง หรือ ชุดคำสั่ง หรือ สิ่งอื่นใด ที่อยู่ในระบบคอมพิวเตอร์ในสภาพที่ระบบคอมพิวเตอร์อาจประมวลผลได้ และให้รวมถึงข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ตามกฎหมายว่าด้วยธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ ส่วนข้อมูลจราจรทางคอมพิวเตอร์ หมายถึงข้อมูลเกี่ยวกับการติดต่อสื่อสารของระบบคอมพิวเตอร์ ที่แสดงถึงแหล่งกำเนิดต้นทาง ปลายทาง เส้นทาง วันเวลา วันที่ ปริมาณ ระยะเวลา ชนิดของบริการ หรือ อื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง

“ผู้ให้บริการ” หมายความว่า ผู้ให้บริการแก่บุคคลอื่นในการเข้าสู่อินเทอร์เน็ต หรือ ให้สามารถติดต่อถึงกันโดยประการอื่นและผ่านทาวระบบคอมพิวเตอร์ ไม่ว่าจะเป็นการให้บริการในนามของตนเอง หรือ ในนาม หรือ เพื่อประโยชน์ของบุคคลอื่น รวมถึงผู้เก็บรักษาข้อมูลคอมพิวเตอร์เพื่อประโยชน์ของบุคคลอื่น ส่วนผู้ใช้บริการ หมายความว่า ผู้ใช้บริการของผู้ให้ บริการ ไม่ว่าต้องเสียค่าใช้บริการหรือไม่ก็ตาม

“พนักงานเจ้าหน้าที่” หมายความว่า ผู้ซึ่งรัฐมนตรีแต่งตั้งให้ปฏิบัติตาม พ.ร.บ.นี้ ส่วนรัฐมนตรี หมาย ความว่า รัฐมนตรีผู้รักษาการตาม พ.ร.บ.นี้ ขณะที่มาตรา 4 ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงไอซีทีรักษาการตรา พ.ร.บ.นี้ และให้มีอำนาจออกกฎกระทรวงเพื่อปฏิบัติการตาม พ.ร.บ.นี้ โดยในส่วนของกฎกระทรวงนั้น เมื่อได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้วให้มีผลบังคับใช้ได้ทันทีนับตั้งแต่วันที่ประกาศ

ในส่วนของความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์นั้น 

มาตรา 5 ผู้ใดเข้าถึงโดยมิชอบ ซึ่งระบบคอมพิวเตอร์ที่มีมาตราการป้องกันการเข้าถึงโดยเฉพาะ และมาตรการนั้นมิได้มีไว้สำหรับตนต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 6 เดือน หรือ ปรับไม่เกิน 1 หมื่นบาท หรือ ทั้งจำทั้งปรับ 

มาตรา 6 ผู้ใดล่วงรู้มาตรการป้องกันการเข้าถึงระบบคอมพิวเตอร์ที่ผู้อื่นจัดทำขึ้น และนำไปเปิดเผยโดยมิชอบในการที่น่าจะเกิดความเสียหายต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 1 ปี หรือ ปรับไม่เกิน 2 หมื่นบาท หรือ ทั้งจำทั้งปรับ

มาตรา 7 ผู้ใดเข้าถึงโดยมิชอบซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ที่มีมาตรการป้องกันการเข้าถึงโดยเฉพาะและมาตรการนั้นมิได้มีไว้สำหรับตนต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 2 ปี หรือ ปรับไม่เกิน 4 หมื่นบาท หรือ ทั้งจำทั้งปรับ 

มาตรา 8 ผู้ใดกระทำด้วยประการใดโดยมิชอบด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์เพื่อดักรับไว้ ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ของผู้อื่นที่อยู่ระหว่างการส่งในระบบคอมพิวเตอร์และข้อมูลนั้น มิได้มีไว้เพื่อสาธารณะประโยชน์ หรือ เพื่อให้บุคคลทั่วไปใช้ประโยชน์ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 3 ปี หรือ ปรับไม่เกิน 6 หมื่นบาท หรือ ทั้งจำทั้งปรับ

มาตรา 9 ผู้ใดทำให้เสียหาย ทำลาย แก้ไข เปลี่ยนแปลง หรือ เพิ่มเติมไม่ว่าทั้งหมด หรือ บางส่วนซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ของผู้อื่นโดยมิชอบ ต้องระโทษจำคุกไม่เกิน 5 ปี หรือ ปรับไม่เกิน 1 แสนบาท หรือ ทั้งจำทั้งปรับ 

มาตรา 10 ผู้ใดกระทำด้วยประการใดโดยมิชอบเพื่อให้การทำงานของระบบคอมพิวเตอร์ของผู้อื่นถูกระงับ ชะลอ ขัดขวาง หรือ รบกวนจนไม่สามารถทำงานตามปกติได้ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 5 ปี หรือ ปรับไม่เกิน 1 แสนบาท หรือ ทั้งจำทั้งปรับ

มาตรา 11 ผู้ใดส่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ หรือ จดหมายอิเล็กทรอนิกส์แก่บุคคลอื่นโดยปกปิด หรือ ปลอมแปลงแหล่งที่มาของการส่ง อันเป็นการรบกวนการใช้ระบบคอมพิวเตอร์ของบุคคลอื่นโดยปกติสุขต้องระวางโทษปรับไม่เกิน 1 แสนบาท ส่วนมาตรา 12 ถ้าการกระทำความผิดตามมาร 9 หรือ มาตรา 10 โดยวรรค 1 ถ้าก่อให้เกิดความเสียหายแก่ประชาชน ไม่ว่าความเสียหายนั้นจะเกิดขึ้นทั้งที หรือ ภายหลัง และไม่ว่าจะเกิดขึ้นพร้อมกันหรือไม่ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 10 ปี และปรับไม่เกิน 2 แสนบาท

มาตรา 12 วรรคที่ 2 ถ้าเป็นการกระทําที่น่าจะเกิดความเสียหายต่อข้อมูลคอมพิวเตอร์ หรือ ระบบคอมพิวเตอร์ที่เกี่ยวกับการรักษาความมั่นคงปลอดภัยของประเทศ ความปลอดภัยสาธารณะ ความมั่นคงในทางเศรษฐกิจของประเทศ หรือ การบริการสาธารณะ หรือ เป็นการกระทําต่อข้อมูลคอมพิวเตอร์ หรือ ระบบคอมพิวเตอร์ที่มีไว้เพื่อประโยชน์สาธารณะ ต้องระวางโทษจําคุกตั้งแต่ 3 ปี ถึง 15 ปี และปรับตั้งแต 6 หมื่นบาท ถึง 3 แสนบาท นอกจากนั้น ถ้าการกระทําความผิด ตามวรรคที่ 2 เป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตายต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่ 10 ปี ถึง 20 ปี

มาตรา 13 ผู้ใดจำหน่าย หรือ เผยแพร่ ชุดคำสั่งที่จัดทำขึ้นโดยเฉพาะเพื่อนำไปใช้เป็นเครื่องมือในการกระทำความผิดตามมาตรา 5 มาตรา 6 มาตรา 7 มาตรา 8 มาตรา 9 มาตรา 10 หรือ มาตรา 11 ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 1 ปี หรือ ปรับไม่เกิน 2 หมื่นบาท หรือ ทั้งจำทั้งปรับ

มาตรา 14 ผู้ใดกระทำความผิดที่ระบุไว้ดังต่อไปนี้ 1) นำข้อมูลปลอมไม่ว่าทั้งหมด บางส่วน หรือ ข้อมูลเท็จ ที่น่าจะเกิดความเสียหายแก่ผู้อื่น หรือ ประชาชน 2) ข้อมูลเท็จที่น่าจะเกิดความเสียหายต่อความมั่นคงของประเทศ หรือ ก่อให้เกิดความตื่นตระหนกแก่ประชาชน 3) ข้อมูลคอมพิวเตอร์อันเป็นความผิดเกี่ยวกับความมั่นคงแห่งราชอาณาจักร หรือ ความผิดเกี่ยวกับการก่อการร้ายตามประมวลกฎหมายอาญา 4) ข้อมูลคอมพิวเตอร์ที่มีลักษณะลามกและข้อมูลนั้นประชาชนทั่วไปสามารถเข้าถึงได้ เข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ รวมถึง 5) เผยแพร่ หรือ ส่งต่อ ข้อมูลคอมพิวเตอร์โดยรู้อยู่แล้วว่า เป็นข้อมูล คอมพิวเตอร์ตามข้อ 1, 2, 3 หรือ 4 ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 5 ปี หรือ ปรับไม่เกิน 1 แสนบาท หรือ ทั้งจำทั้งปรับ

มาตรา 15 ผู้ให้บริการผู้ใดจงใจสนับสนุน หรือ ยินยอมให้มีการกระทำความผิดตามมาตรา 14 ในระบบคอมพิวเตอร์ที่อยู่ในความควบคุมของตน ต้องระวางโทษเช่นเดียวกับผู้กระทำความผิดตามาตรา 14 

มาตรา 16 ผู้ใดนำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ที่ประชาชนทั่วไปอาจเข้าถึงได้ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ที่ปรากฎเป็ยภาพของผู้อื่น และภาพนั้น เป็นภาพที่เกิดจากการสร้างขึ้น ตัดต่อ เติม หรือ ดัดแปลงด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ หรือ อื่นใด ที่น่าจะทำให้ผู้อื่นเสียชื่อเสียง ถูกดูหมิ่น ถูกเกลียดชัง หรือ ได้รับความอับอาย ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 3 ปี หรือ ปรับไม่เกิน 6 หมื่นบาท หรือ ทั้งจำทั้งปรับ

ทั้งนี้ แต่ถ้าการกระทำดังกล่าว เป็นการนำเข้าข้อมูลคอมพิวเตอร์โดยสุจริต ผู้กระทำไม่มีความผิด อย่างไรก็ตาม ความผิดข้างต้นเป็นความผิดอันยอมความได้ อย่างไรก็ตาม ถ้าผู้เสียหายในความผิดตามที่กล่าวมา ตายเสียก่อนร้องทุกข์ ให้บิดา มารดา คู่สมรส หรือ บุตรของผู้เสียหายร้องทุกข์ได้ และให้ถือว่า เป็นผู้เสียหาย

มาตรา 17 ผู้ใดกระทำความผิดตาม พ.ร.บ.นี้ นอกราชอาณาจักรและ วรรค 1 ผู้กระทำความผิดนั้น เป็นคนไทย และรัฐบาลแห่งประเทศที่ความผิดได้เกิดขึ้น หรือ ผู้เสียหายได้ร้องขอให้ลงโทษ วรรคที่ 2 ผู้กระทำความผิดนั้น เป็นคนต่างด้าว และรัฐบาลไทย หรือ คนไทยเป็นผู้เสียหาย และผู้เสียหายได้ร้องขอให้ลงโทษ จะต้องได้รับโทษในราชอาณาจักร

ในหมวดพนักงานเจ้าหน้าที่ 

มาตรา 18 ภายใต้บังคับมาตรา 19 เพื่อประโยชน์ในการสืบสวนและสอบสวนในกรณีที่มีเหตุอันควรเชื่อได้ว่า มีการกระทำความผิดตาม พ.ร.บ.นี้ ให้พนักงานเจ้าหน้าที่มีอำนาจอย่างหนึ่งอย่างใดเฉพาะที่จำเป็นเพื่อประโยชน์ในการใช้เป็นหลักฐานเกี่ยวกับการกระทำความผิดและหาตัวผู้กระทำผิดดังต่อไปนี้ วรรค 1 มีหนังสือสอบถาม หรือ เรียกบุคคลที่เกี่ยวข้องมาให้ถ้อยคำ ส่งคำชี้แจงเป็นหนังสือ หรือ เอกสาร ข้อมูล หรือ หลักฐานอื่นๆ

วรรค 2 เรียกข้อมูลจราจรทางคอมพิวเตอร์จากผู้ให้บริการเกี่ยวกับการติดต่อสื่อสารผ่านระบบคอมพิวเตอร์ หรือ บุคคลอื่นที่เกี่ยวข้อง วรรค 3 สั่งให้ผู้ให้บริการส่งมอบข้อมูลเกี่ยวกับผู้ใช้บริการที่ต้องเก็บตามมาตรา 26 หรือ ที่อยู่ในความครอบครอง หรือ ควบคุมให้แก่พนักงานเจ้าหน้าที่ วรรค 4 ทำสำเนาข้อมูลคอมพิวเตอร์ ข้อมูลจราจรทางคอมพิวเตอร์ หรือ อุปกรณืที่ใช้เก็บข้อมูลคอมพิวเตอร์นั้น ที่ยังไม่อยู่ในความครอบครองของพนักงานเจ้าหน้าที่

วรรค 5 สั่งให้บุคคลที่ครอบครอง ควบคุม หรือ อุปกรณ์ที่ใช้เก็บข้อมูลคอมพิวเตอร์ส่งมอบข้อมูล คอมพิวเตอร์ หรือ อุปกรณ์ดังกล่าว ให้แก่พนักงานเจ้าหน้าที่ วรรค 6 ตรวจสอบ หรือ เข้าถึงระบบคอมพิวเตอร์ ข้อมูลคอมพิวเตอร์ ข้อมูลจราจร หรือ อุปกณ์ที่ใช้เก็บข้อมูลคอมพิวเตอร์ของบุคคลใดอันเป็นหลักฐาน หรือ ใช้เป็นหลักฐานเกี่ยวกับการกระทำความปิด หรือ เพื่อสืบหาตัวผู้กระทำความผิด และสั่งให้บุคคลนั้นส่งสิ่งที่เกี่ยวข้องเท่าที่จำเป็นให้ด้วยก็ได้

วรรค 7 ถอดรหัสลับของข้อมูลคอมพิวเตอร์ของบุคคลใด หรือ สั่งให้บุคคลที่เกี่ยวข้องกับการเข้ารหัสลับของข้อมูล คอมพิวเตอร์ทำการถอดรหัสลับ หรือ ให้ความร่วมมือกับพนักงาน และวรรค 8 ยึด หรือ อายัดระบบคอมพิวเตอร์เท่าที่จำเป็นเฉพาะเพื่อประโยชน์ในการทราบรายละเอียดแห่งความผิดและผู้กระทำความผิดตาม พ.ร.บ.นี้

มาตรา 19 การใช้อำนาจของพนักงานเจ้าหน้าที่ตามมาตรา 18 วรรค 4,5,6,7 และ 8 จะต้องยื่นคำร้องต่อศาลที่มีเขตอำนาจเพื่อมีคำสั่งอนุญาตให้ดำเนินการตามที่ร้องขอ โดยในคำร้องต้องระบุเหตุอันควรเชื่อได้ว่า บุคคลใดทำ หรือ กำลังจะทำการอย่างหนึ่งอย่างใดที่เป็นความผิดตาม พ.ร.บ.นี้ เหตุที่ต้องใช้อำนาจ ลักษณะของการกระทำความผิด รายละเอียดเกี่ยวกับอุปกรณ์ที่ใช้และผู้กระทำความผิดเท่าที่จะระบุได้ประกอบคำร้องด้วย

ส่วนในกรณีที่ศาลมีคำสั่งอนุญาตแล้ว ก่อนดำเนินการตามคำสั่งศาลให้พนักงานเจ้าหน้าที่ส่งสำเนาบันทึกเหตุอันควรเชื่อที่ทำให้ต้องใช้อำนาจตามมาตรา 18 วรรค 4,5,6,7 และ 8 มอบให้เจ้าของ หรือ ผู้ครอบครองระบบคอมพิวเตอร์นั้นไว้เป็นหลักฐาน แต่ถ้าไม่มีเจ้าของ หรือ ผู้ครอบครองอยู่ ณ ที่นั้น ให้ส่งมอบสำเนาบันทึกนั้นให้แก่เจ้าของ หรือ ผู้ครอบครองดังกล่าว ในทันทีที่สามารถทำได้

นอกจากนี้ ยังให้พนักงานเจ้าหน้าที่ผู้เป็นหัวหน้าในการดำเนินการตามมาตรา 18 วรรค 4,5,6,7 และ 8 ส่งสำเนาบันทึกรายละเอียดการดำเนินการและเหตุผลแห่งการดำเนินการให้ศาลที่มีเขตอำนาจภายใน 48 ชั่วโมง นับตั้งแต่เวลาลงมือดำเนินการเพื่อเป็นหลักฐาน ส่วนการทำสำเนาข้อมูลคอมพิวเตอร์มาตรา 18 วรรค 4 ให้ทำได้เฉพาะเมื่อมีเหตุอันควรเชื่อได้ว่ามีการกระทำความผิดและต้องไม่เป็นอุปสรรคในการดำเนินกิจการของเจ้าของ หรือ ผู้ครอบครองจนเกินความจำเป็น

ขณะที่การยึด หรือ อายัด ตามมาตรา 18 วรรค 8 นอกจากจะต้องส่งมอบสำเนาหนังสือแสดงการยึด หรือ อายัดมอบให้เจ้าของ หรือ ผู้ครอบครองระบบคอมพิวเตอร์ไว้เป็นหลักฐานแล้วพนักงานเจ้าหน้าที่จะสั่งยึด หรือ อายัดไว้เกิน 30 วัน มิได้ ในกรณีจำเป็นต้องยึด หรือ อายัดไว่นานกว่านั้น ให้ยื่นคำร้องต่อศาลที่มีเขตอำนาจเพื่อขอขยายเวลา แต่ศาลจะอนุญาตให้ขยายเวลาครั้งเดียว หรือ หลายครั้งรวมกันได้อีกไม่เกิน 60 วัน แต่เมื่อหมดความจำเป็น หรือ ครบกำหนดแล้วจะต้องส่งคืนโดยพลัน สำหรับหนังสือแสดงการยึด หรือ อายัด ตามวรรค 5 ให้เป็นไปตามที่กำหนดในกฎกระทรวง

มาตรา 20 กรณีที่การกระทําความผิดเป็นการทําให้แพร่หลายซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ที่อาจกระทบกระเทือนต่อความมั่นคงแห่งราชอาณาจักรตามที่กําหนดไว้ในภาคสองลักษณะ 1 หรือ ลักษณะ 1/1 แห่งประมวลกฎหมายอาญา หรือ ที่มี ลักษณะขัดต่อความสงบเรียบร้อย หรือ ศีลธรรมอันดีของประชาชนพนักงานเจ้าหน้าที่โดยได้รับความเห็นชอบจากรัฐมนตรีอาจยื่นคําร้องพร้อมแสดงพยานหลักฐานต่อศาลขอให้มีคําสั่งระงับการทําให้แพร่หลาย ซึ่งข้ อมูลคอมพิวเตอร์นั้นได้

ในกรณีที่ศาลมีคําสั่งให้ระงับการทําให้แพร่หลายซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ตามวรรค 1 ให้พนักงานเจ้าหน้าที่ทําการระงับการทําให้แพร่หลายนั้นเอง หรือ สั่งให้ผู้ให้บริการระงับการทําให้แพร่หลายซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์นั้นก็ได้

มาตรา 21 ในกรณีที่พนักงานเจ้าหน้าที่พบว่า ข้อมูลคอมพิวเตอร์ใดมีชุดคำสั่งไม่พึงประสงค์รวมอยู่ด้วย พนักงานเจ้าหน้าที่อาจยื่นคำร้องต่อศาลที่มีเขตอำนาจเพื่อขอให้มีคำสั่งห้ามจำหน่าย หรือ เผยแพร่ หรือ สั่งให้เจ้าของ หรือ ผู้ครอบครองระงับการใช้ ทำลาย หรือ แก้ไขได้ หรือ จะกำหนดเงื่อนไขในการใช้ มีไว้ครอบครอง หรือ เผยแพร่ก็ได้

ทั้งนี้ ชุดคำสั่งไม่พึงประสงค์ หมายถึง ชุดคำสั่งที่มีผลทำให้ข้อมูลคอมพิวเตอร์ หรือ ระบบคอมพิวเตอร์ หรือ ชุดคำสั่งอื่นเกิดความเสียหาย ถูกทำลาย แก้ไข เปลี่ยนแปลง หรือ เพิ่มเติม ขัอข้อง หรือ ปฏิบัติงานไม่ตรงตามคำสั่งที่กำหนดไว้ หรือ โดยประการอื่นตามที่กำหนดในกฎกระทรวง ยกเว้นแต่เป็นชุดคำสั่งที่มุ่งหมายในการป้องกัน หรือ แก้ไขชุดคำสั่งดังกล่าวข้างต้นตามที่รัฐมนตรีประกาศในราชกิจจานุเบกษา


การละเมิดลิขสิทธ์ซอฟต์แวร์

สาเหตุที่ทำให้ละเมิดลิขสิทธิ์ซอฟแวร์

  1. เนื่องจากของแท้มีราคาแพง และมีค่าใช้จ่ายสูง
  2. การละเมิดลิขสิทธิ์ทำได้ง่ายและรวดเร็ว
  3. ตัวสินค้าก็มีคุณภาพเทียบเท่าของจริง
  4. เป็นวัฒนธรรมในบางสังคม ซึ่งมีมาเป็นเวลายาวนาน เช่น การเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ มีการแบ่งปันกันในสังคมมาโดยตลอด จึงทำให้ผู้ที่ได้ละเมิดลิขสิทธิ์ไม่คิดว่าตนเองได้กระทำความผิด
  5. กลไกในการบังคับใช้กฎหมายที่ยังไม่ค่อยมีประสิทธิภาพเท่าที่ควร และการหาตัวผู้กระทำความผิดก็ทำได้ยากเช่นกัน


ประเภทการละเมิดลิขสิทธิ์ซอฟต์แวร์

  1. การทำสำเนาโดยผู้ใช้งาน (Enduser Copy) คือ การทำสำเนาโดยผู้ใช้งาน การทำสำเนาแจกจ่ายระหว่างผู้ใช้งานแม้ว่าจะเป็นการทำสำเนาจากซอฟต์แวร์ต้นฉบับของแท้ ก็จัดว่าเป็นการละเมิดประเภทหนึ่ง เนื่องจากมีการติดตั้งซอฟต์แวร์ หรือการใช้งานซอฟต์แวร์มากกว่าจำนวนที่ได้รับสิทธิ การกระทำเช่นนี้มิเพียงแต่เสี่ยงต่อการถูกดำเนินคดีทางกฎหมายเท่านั้น หากแต่ยังเสี่ยงต่อการแพร่ระบาดของไวรัส และความเสียหายของข้อมูล ฯลฯ ซึ่งอาจสร้างความเสียหายอันประเมินค่ามิได้ต่อธุรกิจของท่าน
  2. การติดตั้งซอฟต์แวร์ลงในฮาร์ดดิสก์ (Harddisk Loading) เช่น ทำหน้าที่เป็นผู้ติดตั้งซอฟต์แวร์ให้ โดยแนะนำให้ลูกค้าซื้อซอฟต์แวร์ละเมิดลิขสิทธิ์ โดยตนเองจะให้บริการติดตั้งเท่านั้น หรือ แนะนำให้ลูกค้ารับเครื่องเปล่าไปก่อน และส่งเจ้าหน้าที่ไปติดตั้งที่บ้านหรือที่ทำงานของลูกค้าภายหลัง
  3. การปลอมแปลงสินค้า (Counterfeiting)ผู้จำหน่ายซอฟต์แวร์บางรายถึงกับผลิต CD และคู่มือปลอมจำหน่าย โดยจัดทำบรรจุภัณฑ์เหมือนกับสินค้าจริงทุกประการ เพื่อเป็นการหลอกลวงให้ผู้ซื้อเข้าใจว่าได้สินค้าของแท้
  4. การละเมิดลิขสิทธิ์ Online (Internet Piracy) ลักษณะที่เกิดขึ้นมากในปัจจุบันคือการ Download ซอฟต์แวร์ผ่าน Internet โดยไม่ได้รับอนุญาตจากเจ้าของลิขสิทธิ์ ซอฟต์แวร์เหล่านี้ไม่ใช่ Shareware
  5. การขายหรือใช้ลิขสิทธิ์ผิดประเภท ในบางกรณีผู้ค้าซอฟต์แวร์จำหน่ายซอฟต์แวร์ผิดประเภทให้กับลูกค้า ทำให้ผู้ซื้อตกอยู่ในความเสี่ยงทางกฎหมายโดยรู้เท่าไม่ถึงการณ์


ผลกระทบ

เทคโนโลยีการแชร์ไฟล์แบบเพียร์ทูเพียร์ (Pear 2 Pear; P2P) เป็นเทคโนโลยีทีช่วยลดความรู้พื้นฐานที่จำเป็นต่อการรับข้อมูลเป็นจำนวนมาก มีเครือข่ายขนาดใหญ่ที่สร้างขึ้นเพื่อเผยแพร่ความรู้ ในขณะเดียวกันเครือข่ายความรู้นี้ก็อาจเปลี่ยนไปเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์ได้ ซึ่งยากต่อการตรวจสอบเนื่องจากผู้ใช้สามารถเปลียนชื่อไฟล์และเนื้อหาที่จะแชร์ได้
คุณภาพของฟรีแวร์ที่เพิ่มสูงขึ้นจนเป็นทางเลือกของผู้ใช้ได้ มีส่วนช่วยลดการใช้ซอฟต์แวร์ที่ละเมิดลิขสิทธิ์เช่นกัน ผู้ผลิตซอฟต์แวร์บางรายมองว่า การทำสำเนาซอฟต์แวร์ของตนเพื่อเผยแพร่ แม้จะไม่ถูกต้องตามกฎหมาย แต่ก็ดีกว่าการไปซื้อซอฟต์แวร์หรือทำสำเนาของซอฟต์แวร์ที่เป็นคู่แข่งขันกัน ผู้บริหารของไมโครซอฟท์ เจฟ ไรค์ส์ กล่าวว่า "ถ้าพวกเขาอยากจะละเมิดลิขสิทธิ์ใครสักคน ขอให้ใครสักคนที่ว่านั้นเป็นเรา ไม่ใช่คนอื่น" นอกจากนี้เขายังกล่าวอีกว่า "เราเข้าใจว่าในระยะยาว สิ่งพื้นฐานที่มีค่าที่สุดคือจำนวนผู้ใช้งานซอฟต์แวร์ของเรา สิ่งที่คุณคาดหวังว่าจะทำไปเรื่อย ๆ ระหว่างนี้คือการเปลี่ยนให้คนที่ใช้ของละเมิดใช้ของที่ถูกกฎหมายแทน"
จากการศึกษารวมกันเกี่ยวกับการละเมิดลิขสิทธิ์ซอฟต์แวร์ระหว่าง Business Software Alliance และ Software Publishers Association พบว่าความเสียหายเกี่ยวกับการละเมิดลิขสิทธิ์ซอฟต์แวร์ของทั้งโลกมากกว่า 13 ล้านเหรียญ ในปี 1995 และมีแนวโน้วว่าจะสูงขึ้นเรื่อยๆ
กรณีศึกษาคดีละเมิดลิขสิทธิ์ Microsoft vs. Atec เรื่องนี้เป็นคำพิพากษาฎีกาเมื่อปี 2543 ที่ผ่านมา เป็นคดีสำคัญที่ผู้ศึกษากฎหมายโดยทั่วไปส่วนมากจะรู้จัก โดยเฉพาะในวิชากฎหมายว่าด้วยทรัพย์สินทางปัญญาและกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา ว่าด้วยพยานหลักฐาน คำพิพากษาฎีกาของจริงนี่จะยาวมากๆแต่ที่ยกมาจะอยู่ในรูปของการเล่าเรื่อง มากกว่า ไม่ใช่เป็นฎีกาโดยย่อแต่อย่างใด เพียงอยากให้รู้ว่าคดีนี้ที่มาที่ไปเป็นอย่างไร และผลของคำพิพากษาเป็นอย่างไร
จากข้อมูลที่ได้มามีคำพิพากษาของ สองศาลคือ ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางและของศาลฎีกา ซึ่งแน่นอน ผลของคำพิากษาต่างกัน
เรื่อง ทรัพย์สินทางปัญญา ลิขสิทธิ์สัญญาอนุญาตให้ใช้สิทธิ ละเมิด คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5305/2550 นายภิรมย์ ฟองทราย ที่ ๑ กับพวก ๒ คน โจทก์ นายประเวศ ประยุทธสินธุ์ ที่ ๑ กับพวก ๓ คน จำเลย
คดี STREAMCAST หัวข้อที่สำคัญคือการพิสูจน์ว่าผู้ค้าส่งซอฟแวร์มีเจตนาที่จะส่งเสริมการละเมิดลิขสิทธิ์ ในคำวินิจฉัย ศาลฎีกากล่าวว่ามีพยานวัตถุว่า เครือข่าย Streamcast มีการจูงใจให้ประชาชนใช้ซอฟแวร์ของเขาไปในทางที่ผิดกฎหมายโดยการแชร์ไฟล์ที่มีลิขสิทธิ์ ศาลไม่ได้วินิจฉัยให้เครือข่าย Streamcast เป็นผู้ที่ต้องรับผิดหรือไม่ แต่พวกเขาเพียงสามารถอ้างความรับผิดได้เท่านั้น โดยหลักแล้วศาลกล่าวว่าไม่สามารถฟ้องบริษัทเทคโนโลยีได้ ถ้าเขาเพียงแต่ทราบว่าลูกค้าของเขาใช้สินค้าของเขาโดยเจตนาที่ผิดกฎหมาย คำวินิจฉัยหมายความว่าศาลสหรัฐปฏิบัติหน้าที่โดยมีอิสระในการตัดสินใจในแต่ละคดี ที่ก่อให้เกิดการส่งเสริมให้มีการละเมิดลิขสิทธิ์

การป้องกันการละเมิดลิขสิทธิ์ซอฟต์แวร์

การละเมิดลิขสิทธิ์ซอฟต์แวร์มีผลเสียต่อผู้เผยแพร่ซอฟต์แวร์ ที่การแข่งขันที่ไม่เป็นธรรมสำหรับบริษัทที่ดำเนินการอย่างถูกต้อง และก่อให้เกิดความเสียหายกับตราสินค้า ผ่านทางการแจกจ่ายผลิตภัณฑ์ที่ต่ำกว่ามาตรฐาน และทำให้ลูกค้าได้รับความเสี่ยงด้านไอที รวมถึงการละเมิดข้อกำหนดด้านความปลอดภัยและการสูญเสียข้อมูล จึงมีการจัดตั้งกลุ่มพันธมิตรธุรกิจซอฟต์แวร์ (บีเอสเอ)
กลุ่มพันธมิตรธุรกิจซอฟต์แวร์ (Business Software Alliance : BSA) เป็นองค์ที่มุ่งสู่เป้าหมายของอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ และพันธมิตรด้านฮาร์ดแวร์ เพื่อขจัดการกีดกันที่ไม่ใช่กำแพงภาษีในการเข้าสู่ตลาด การป้องกันการเกิดภาษีอินเทอร์เน็ตที่บิดเบือน หรือการสร้างความเข้มแข็งให้กับกฎหมายที่ลดการละเมิดลิขสิทธิ์ซอฟต์แวร์
นอกจากนี้กลุ่มพันธมิตรธุรกิจซอฟต์แวร์(บีเอสเอ)ร่วมกับไอดีซีเผยผลการศึกษาการละเมิดลิขสิทธิ์ซอฟต์แวร์ ที่ได้ติดตามการละเมิดลิขสิทธิ์ซอฟตืแวรื กว่า 100 ประเทศทั่วโลก พบว่า จากปีพ.ศ. 2551 ถึง 2552 อัตราการติดตั้งซอฟต์แวร์ละเมิดลิขสิทธิ์บนเครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล หรือเครื่องพีซีในประเทศไทยลดลง 1 จุด มาอยู่ที่ร้อยละ 75 การลดลงดังกล่าวดูเหมือนจะส่งสัญญาณยืนยันแนวโน้มที่ดีว่าอัตราการละเมิด ลิขสิทธิ์กำลังลดลงอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ปีพ.ศ. 2549 จากผลการศึกษายังมีการจัดอันดับประเทศที่มีการละเมิดลิขสิทธิ์ซอฟต์แวร์ต่ำสุดและสูงสุดอีกด้วย คือ
สหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น และลักเซมเบิร์ก เป็นประเทศที่มีอัตราการละเมิดลิขสิทธิ์ซอฟต์แวร์ต่ำที่ สุด (คิดเป็นร้อยละ 20 ร้อยละ 21 และร้อยละ 21 ตามลำดับ)
ประเทศที่มีอัตราการละเมิดลิขสิทธิ์สูงที่สุด คือจอร์เจีย ซิมบับเว และมอลโดวา(ทั้งหมดมีอัตราการละเมิดลิขสิทธิ์ซอฟต์แวร์สูงกว่าร้อยละ 90 )
บีเอสเอร่วมฉลองวันทรัพย์สินทางปัญญาโลก เปิดตัววิดีโอนำเสนอปัญหาละเมิดลิขสิทธิ์ที่นักพัฒนาซอฟต์แวร์เอเชียต้องเผชิญ

การละเมิดลิขสิทธิ์ซอฟต์แวร์ในไทย

ไทยยังละเมิดลิขสิทธิ์ซอฟแวร์ผอ.ฝ่ายปราบปรามการละเมิดลิขสิทธิ์ประจำภูมิภาคเอเชีย ระบุประเทศไทยอยู่ในอันดับ 4 ของประเทศในภูมิภาคเอเชีย ที่ละเมิดลิขสิทธิ์ซอฟต์แวร์ ด้าน ผบก.ปศท. ประกาศเอาตำแหน่งเป็นเดิมพัน หาก 3 เดือน กวาดล้างการละเมิดลิขสิทธิ์ซอฟต์แวร์ไม่ได้ผล
พล.ต.ต.วิสุทธิ์ วานิชบุตร ผู้บังคับการปราบปรามอาชญากรรมทางเศรษฐกิจและเทคโนโลยี (ปศท.) แถลงข่าวร่วมกับกลุ่มพันธมิตรซอฟต์แวร์ โดยนายดรุณ ซอร์นีย์ ผู้อำนวยการฝ่ายปราบปรามการละเมิดลิขสิทธิ์ประจำภูมิภาคเอเชีย กล่าวว่า ประเทศไทยมีการละเมิดลิขสิทธิ์ซอฟต์แวร์สูงถึงร้อยละ 80 และเป็นอันดับ 4 ในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก โดยอันดับ 1 คือ เวียดนาม ตามด้วยอินโดนีเซีย และจีน นายอรุณ กล่าวด้วยว่า ในเครื่องคอมพิวเตอร์คนไทย 1 เครื่อง จะมีชิ้นส่วนหรืออุปกรณ์ซอฟต์แวร์ละเมิดลิขสิทธิ์ถึงร้อยละ 80 และมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น ขณะที่อีก 3 ประเทศ กลับพบแนวโน้มที่ลดลง

สาระน่ารู้เกี่ยวกับกฏหมายคอมพิวเตอร์

ปัจจุบัน เทคโนโลยีอินเตอร์เน็ตและสารทนเทศ (ไอที) ได้เข้ามามีบทบาทต่อการดำเนินชีวิตประจำวัน ทั้งด้านการค้า การศึกษา การติดต่อสื่อสารประโยชน์ของอินเตอร์เน็ตนั้นมีมากมหาศาล แต่ขณะเดียวกันก็มีโทษอนันต์ถ้าใช้ผิดวิธี “ข่าวสดหลาก&หลาย” รวบรวมคำถาม-ไขข้องใจปัญหาข้อกฎหมายที่พบบ่อยว่า การใช้อินเตอร์เน็ตในทางที่ผิดรูปแบบไหน ทำให้ต้องเสี่ยงคุกเสี่ยงตะราง


การใช้ “ชื่อ” และ “นามแฝง”


โลกอินเตอร์เน็ตเปิดช่องให้ผู้ใช้สามารถตั้งชื่อปลอม นามแฝง โกหกสถานะและอายุได้อย่างง่ายดาย ในกรณีที่ใช้ “นามแฝง” ที่ตั้งขึ้นมาเองหรือไม่เกี่ยวข้องกับผู้ใดและไม่ได้เข้าไปเขียนข้อความให้ ร้ายผู้อื่นคงไม่มีปัญหา แต่ถ้านำชื่อของบุคคลอื่นมาใช้โดยเจ้าตัวไม่ได้รับรู้ จนทำให้เกิดความเสียหายจะต้องรับผิด อาจถูกฟ้องร้องเรียกค่าเสียหายได้
ตามกฎหมายแบ่งแยกการพนันออกเป็น 2 ประเภท โดยแยกออกเป็น “บัญชี ก.” และ “บัญชี ข.”
“เว็บมาสเตอร์ (Webmaster)” คือคำเรียกขานผู้ดูแลเว็บไซต์ต่างๆ ในกรณีมีนักท่องเน็ตเข้ามาเขียนกระทู้ โพสต์ข้อความหรือโพสต์รูป ที่ทำให้บุคคลอื่นเสียหาย รวมทั้งโพสต์ภาพอนาจาร หรือเขียนเนื้อหาพาดพิงสถาบัน ตัวนักท่องเน็ต คนนั้นถือว่ากำลังทำความผิดทางอาญา ส่วนเว็บมาสเตอร์ ถ้าสืบสวนพบว่า เห็นข้อมูล ที่สร้างปัญหา แต่ปล่อยปละละเลย ไม่สนใจลบข้อความทิ้ง หรือแก้ไขข้อความก็อาจถูกฟ้องร้องฐาน ร่วมกระทำความผิดด้วย เช่น เรียกค่าเสียหายทางแพ่ง โดยเฉพาะอย่างยิ่งถ้าในเว็บไซต์์ดังกล่าวไม่มีมาตรการป้องกันการกระทำผิด กฎหมาย โอกาสต้องรับโทษจะยิ่งสูงขึ้น
โลกอินเตอร์เน็ต เปิดโอกาสให้แต่ละเว็บไซต์เชื่อมโยงข้อมูลถึงกันได้อย่างสะดวกง่ายดาย ผ่านระบบที่เรียกว่า “ไฮเปอร์ลิงก์” หรือ “ลิงก์” ปัญหาอาจเกิดขึ้นได้ ถ้าไปเอาข้อมูลจากเว็บไซต์อื่นๆ มาเผยแพร่ แม้จะทำลิงก์เชื่อมโยงที่มาเอาไว้ แต่ถ้าไม่ได้ขออนุญาตเจ้าของเว็บปลายทางโดยตรงก็อาจมีความผิดฐานละเมิด ลิขสิทธิ์ หรือทำซ้ำงานอันมีลิขสิทธิ์ของผู้อื่น ในสหรัฐอเมริกามีข้อถกเถียงกันใน ประเด็นนี้อย่างแพร่หลายถ้าจะเอาเว็บไซต์ของคนอื่นมาลิงก์เข้ากับเว็บไซต์ ของเราจะต้องไปขออนุญาตหรือไม่ ในประเทศไทยปัญหานี้ยังไม่เคยเกิดขึ้น แต่อนาคตอาจเกิดขึ้นได้ ดังนั้น ก่อนจะนำเว็บของคนอื่นมาลิงก์เข้ากับเว็บของเราควรขออนุญาตให้เรียบร้อยก่อน
“เพลง” ถือเป็นงานอันมีลิขสิทธิ์ที่ใครจะไปทำซ้ำ ดัดแปลง หรือเผยแพร่ต่อสาธารณชนโดยไม่ได้รับอนุญาตจากเจ้าของไม่ได้ การอัพโหลดไฟล์เพลงขึ้นไปอยู่ในโลกอินเตอร์เน็ตถือเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์ เช่นกัน ยิ่งถ้าทำเพื่อการค้าโดยเก็บเงินจากคนที่ดาวน์โหลดเพลงนับเป็นความผิดคดี อาญา สำหรับคนที่ดาวน์โหลดมาฟังเฉยๆ ถือเป็นการทำซ้ำ แต่พอมีช่องทางทางกฎหมายที่จะอ้างได้ว่าไม่เป็นการละเมิดลิขสิทธิ์ เพราะถือเป็นการทำซ้ำมาเพื่อใช้ประโยชน์เอง และการดาวน์โหลดมาฟังยังพอมีช่องทางต่อสู้คดีได้ว่าไม่ได้เป็นอุปสรรคกับการ ใช้ประโยชน์จากงานอันมีลิขสิทธิ์ของเจ้าของลิขสิทธิ์ เพราะไม่ได้เอาไปขาย
เนื่องจากโปรแกรมลิขสิทธิ์ หรือโปรแกรมถูกกฎหมายมีราคาแพงมาก ทำให้ธุรกิจโปรแกรมเถื่อนละเมิดลิขสิทธิ์เฟื่องฟูยิ่งกว่าดอกเห็ด อย่างไรก็ตาม แม้เราจะซื้อโปรแกรมลิขสิทธิ์มาใช้ แต่ถ้านำโปรแกรมนั้นไปแจกให้เพื่อนฝูงก๊อบปี้ หรือทำสำเนาไปใช้ต่อ ถือว่ามีความผิดฐาน “ทำซ้ำ” ซึ่งเข้าข่ายละเมิดลิขสิทธิ์ แม้กฎหมายจะมีข้อยกเว้นให้การทำสำเนาโดยเจ้าของโปรแกรมมีลิขสิทธิ์ ทำได้โดยไม่ผิดกฎหมาย แต่ไม่ใช่การยกเว้นโดยไม่มีขอบเขต เพราะกฎหมายจำกัดจำนวนสำเนาว่าให้มีจำนวนตามสมควร เพื่อวัตถุประสงค์ในการบำรุงรักษาหรือป้องกันการสูญหาย
ใครที่ใช้ “อีเมล์” ทุกวันร้อยทั้งร้อยคงรู้สึกเบื่อหน่ายกับ “อีเมล์โฆษณาขยะ” ทั้งหลายที่ส่งมาได้ทุกวัน วันละหลายๆ ฉบับ ทั้งน่าเบื่อ น่ารำคาญ และเสียเวลาอ่าน เจ้าของสินค้าหรือผู้ส่งอีเมล์ขยะเหล่านี้ได้ข้อมูลที่อยู่อีเมล์ของเราผ่าน วิธีการหลากหลายรูปแบบ เช่น ฝังโปรแกรม “คุกกี้” เอาไว้ตามเว็บไซต์ที่เราเข้าไปดู จากนั้นก็ส่งคุกกี้เข้ามาคอยสอดส่องเก็บข้อมูลการใช้คอมพิวเตอร์และอีเมล์ ของเรา เพื่อส่งอีเมล์ขยะมาหา ในสหรัฐ ปัญหาอีเมล์ขยะทำให้มีผู้ใช้อินเตอร์เน็ตไปร้องเรียนกับหน่วยงานของรัฐ เพื่อให้เร่งออกมาตรการควบคุม และเคยเกิดคดีดังขึ้นคดีหนึ่ง หลังจากบริษัท “เอโอแอล” ไอเอสพีหรือผู้ให้บริการอินเตอร์เน็ตยักษ์ใหญ่ของสหรัฐ ลงมือฟ้องร้องบริษัทไซเบอร์โปรโมชั่น ฐานส่งอีเมล์โฆษณาขยะไปยังอีเมล์ของลูกค้าเอโอแอล นอกจากนั้น ยังมีอีกคดีที่ไอเอสพีฟ้องผู้ส่งอีเมล์ขยะฐานะ “บุกรุก” คอมพิวเตอร์ลูกค้า

การพนันออนไลน์
กลุ่มที่อยู่ในบัญชี ก. กฎหมายห้ามเล่นโดยเด็ดขาด อาทิ พวกหวย ก.ข. ไฮโล ไพ่ต่างๆ ส่วนประเภทสอง ที่อยู่ในบัญชี ข. เล่นได้แต่ต้องขออนุญาตจากเจ้าหน้าที่สำนักงานตำรวจแห่งชาติก่อนเว็บไซต์ เกี่ยวกับการพนันออนไลน์มีนับไม่ถ้วน ส่วนใหญ่จะเป็นไพ่ต่างๆ และสล็อตแมชชีน ซึ่งถือเป็นการพนันตามบัญชี ก. ผู้ฝ่าฝืนก็มีโทษจำคุกตั้งแต่ 3 เดือนถึง 3 ปี อย่างไรก็ตาม การเล่นพนันออนไลน์ในขณะนี้ติดตามจับกุมยากและไม่คุ้มกับทรัพยากรของภาครัฐ จึงยังไม่ค่อยเห็นการดำเนินคดีอย่างจริงจัง
ความผิดของ”เว็บมาสเตอร์”
“เว็บมาสเตอร์ (Webmaster)” คือคำเรียกขานผู้ดูแลเว็บไซต์ต่างๆ ในกรณีมีนักท่องเน็ตเข้ามาเขียนกระทู้ โพสต์ข้อความหรือโพสต์รูป ที่ทำให้บุคคลอื่นเสียหาย รวมทั้งโพสต์ภาพอนาจาร หรือเขียนเนื้อหาพาดพิงสถาบัน ตัวนักท่องเน็ต คนนั้นถือว่ากำลังทำความผิดทางอาญา ส่วนเว็บมาสเตอร์ ถ้าสืบสวนพบว่า เห็นข้อมูล ที่สร้างปัญหา แต่ปล่อยปละละเลย ไม่สนใจลบข้อความทิ้ง หรือแก้ไขข้อความก็อาจถูกฟ้องร้องฐาน ร่วมกระทำความผิดด้วย เช่น เรียกค่าเสียหายทางแพ่ง โดยเฉพาะอย่างยิ่งถ้าในเว็บไซต์์ดังกล่าวไม่มีมาตรการป้องกันการกระทำผิด กฎหมาย โอกาสต้องรับโทษจะยิ่งสูงขึ้น
“ลิงก์-ไฮเปอร์ลิงก์” ละเมิดลิขสิทธิ์โลกอินเตอร์เน็ต เปิดโอกาสให้แต่ละเว็บไซต์เชื่อมโยงข้อมูลถึงกันได้อย่างสะดวกง่ายดาย ผ่านระบบที่เรียกว่า “ไฮเปอร์ลิงก์” หรือ “ลิงก์” ปัญหาอาจเกิดขึ้นได้ ถ้าไปเอาข้อมูลจากเว็บไซต์อื่นๆ มาเผยแพร่ แม้จะทำลิงก์เชื่อมโยงที่มาเอาไว้ แต่ถ้าไม่ได้ขออนุญาตเจ้าของเว็บปลายทางโดยตรงก็อาจมีความผิดฐานละเมิด ลิขสิทธิ์ หรือทำซ้ำงานอันมีลิขสิทธิ์ของผู้อื่น ในสหรัฐอเมริกามีข้อถกเถียงกันใน ประเด็นนี้อย่างแพร่หลายถ้าจะเอาเว็บไซต์ของคนอื่นมาลิงก์เข้ากับเว็บไซต์ ของเราจะต้องไปขออนุญาตหรือไม่ ในประเทศไทยปัญหานี้ยังไม่เคยเกิดขึ้น แต่อนาคตอาจเกิดขึ้นได้ ดังนั้น ก่อนจะนำเว็บของคนอื่นมาลิงก์เข้ากับเว็บของเราควรขออนุญาตให้เรียบร้อยก่อน

การดาวน์โหลดเพลง
“เพลง” ถือเป็นงานอันมีลิขสิทธิ์ที่ใครจะไปทำซ้ำ ดัดแปลง หรือเผยแพร่ต่อสาธารณชนโดยไม่ได้รับอนุญาตจากเจ้าของไม่ได้ การอัพโหลดไฟล์เพลงขึ้นไปอยู่ในโลกอินเตอร์เน็ตถือเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์ เช่นกัน ยิ่งถ้าทำเพื่อการค้าโดยเก็บเงินจากคนที่ดาวน์โหลดเพลงนับเป็นความผิดคดี อาญา สำหรับคนที่ดาวน์โหลดมาฟังเฉยๆ ถือเป็นการทำซ้ำ แต่พอมีช่องทางทางกฎหมายที่จะอ้างได้ว่าไม่เป็นการละเมิดลิขสิทธิ์ เพราะถือเป็นการทำซ้ำมาเพื่อใช้ประโยชน์เอง และการดาวน์โหลดมาฟังยังพอมีช่องทางต่อสู้คดีได้ว่าไม่ได้เป็นอุปสรรคกับการ ใช้ประโยชน์จากงานอันมีลิขสิทธิ์ของเจ้าของลิขสิทธิ์ เพราะไม่ได้เอาไปขาย

การซื้อโปรแกรมลิขสิทธิ์มาก๊อบปี้แจกผู้อื่น
เนื่องจากโปรแกรมลิขสิทธิ์ หรือโปรแกรมถูกกฎหมายมีราคาแพงมาก ทำให้ธุรกิจโปรแกรมเถื่อนละเมิดลิขสิทธิ์เฟื่องฟูยิ่งกว่าดอกเห็ด อย่างไรก็ตาม แม้เราจะซื้อโปรแกรมลิขสิทธิ์มาใช้ แต่ถ้านำโปรแกรมนั้นไปแจกให้เพื่อนฝูงก๊อบปี้ หรือทำสำเนาไปใช้ต่อ ถือว่ามีความผิดฐาน “ทำซ้ำ” ซึ่งเข้าข่ายละเมิดลิขสิทธิ์ แม้กฎหมายจะมีข้อยกเว้นให้การทำสำเนาโดยเจ้าของโปรแกรมมีลิขสิทธิ์ ทำได้โดยไม่ผิดกฎหมาย แต่ไม่ใช่การยกเว้นโดยไม่มีขอบเขต เพราะกฎหมายจำกัดจำนวนสำเนาว่าให้มีจำนวนตามสมควร เพื่อวัตถุประสงค์ในการบำรุงรักษาหรือป้องกันการสูญหาย
อีเมล์ขยะ (สแปมมิ่ง)ใครที่ใช้ “อีเมล์” ทุกวันร้อยทั้งร้อยคงรู้สึกเบื่อหน่ายกับ “อีเมล์โฆษณาขยะ” ทั้งหลายที่ส่งมาได้ทุกวัน วันละหลายๆ ฉบับ ทั้งน่าเบื่อ น่ารำคาญ และเสียเวลาอ่าน เจ้าของสินค้าหรือผู้ส่งอีเมล์ขยะเหล่านี้ได้ข้อมูลที่อยู่อีเมล์ของเราผ่าน วิธีการหลากหลายรูปแบบ เช่น ฝังโปรแกรม “คุกกี้” เอาไว้ตามเว็บไซต์ที่เราเข้าไปดู จากนั้นก็ส่งคุกกี้เข้ามาคอยสอดส่องเก็บข้อมูลการใช้คอมพิวเตอร์และอีเมล์ ของเรา เพื่อส่งอีเมล์ขยะมาหา ในสหรัฐ ปัญหาอีเมล์ขยะทำให้มีผู้ใช้อินเตอร์เน็ตไปร้องเรียนกับหน่วยงานของรัฐ เพื่อให้เร่งออกมาตรการควบคุม และเคยเกิดคดีดังขึ้นคดีหนึ่ง หลังจากบริษัท “เอโอแอล” ไอเอสพีหรือผู้ให้บริการอินเตอร์เน็ตยักษ์ใหญ่ของสหรัฐ ลงมือฟ้องร้องบริษัทไซเบอร์โปรโมชั่น ฐานส่งอีเมล์โฆษณาขยะไปยังอีเมล์ของลูกค้าเอโอแอล นอกจากนั้น ยังมีอีกคดีที่ไอเอสพีฟ้องผู้ส่งอีเมล์ขยะฐานะ “บุกรุก” คอมพิวเตอร์ลูกค้า

ส่วนในไทยอาจเข้าข่ายผิดมาตรา 10 ในกฎหมายคอมพิวเตอร์ 2550 ที่ระบุว่า ผู้ใดกระทำการโดยมิชอบ เพื่อให้การทำงานของระบบคอมพิวเตอร์ของผู้อื่นถูกระงับ ชะลอ ขัดขวาง หรือรบกวนจนไม่สามารถทำงานตามปกติได้ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินห้าปี หรือปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ






















ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น